วันอังคารที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2556

แบบทดสอบ สังคม ป.2 หน่วยที่ 1

แcบบทดสอบก่อนเรียน- หลังเรียน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1


คำชี้แจง    ให้กา x  ทับตัวอักษรหน้าข้อความที่เป็นคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว

1.     ข้อใดเป็นเอกลักษณ์ของคนไทยที่นับถือพระพุทธศาสนา
        ก.    มีเมตตากรุณา
        ข.    มีบุคลิกภาพดี
        ค.    มีความมั่นใจในตนเอง

2.     บุคคลในข้อใด คือศาสดาของพระพุทธศาสนา
        ก.    พระเยซู
        ข.    นมีมุฮัมมัด
        ค.    พระพุทธเจ้า

3.     ข้อใด คือพิธีกรรมของศาสนาอิสลาม
        ก.    การบรรพชา
        ข.    การละหมาด
        ค.    การรับศีลศักดิ์สิทธิ์

4.     คัมภีร์พระเวท เป็นคัมภีร์ของศาสนาใด
        ก.    ศาสนาพุทธ
        ข.    ศาสนาคริสต์
        ค.    ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

5.     หลักธรรมที่เหมือนกันในทุกศาสนา คือข้อใด
        ก.    สอนให้ทำความดี
        ข.    สอนให้มีบุคลิกภาพที่ดี
        ค.    สอนให้เอาตัวรอด

6.     ข้อใด คือคัมภีร์ของพระพุทธศาสนา
         ก.    ไบเบิล
         ข.    พระไตรปิฎก
         ค.    อัลกุรอาน

7.     พระพุทธศาสนากำเนิดที่ประเทศใด
         ก.    อินเดีย
         ข.    บรูไน
         ค.    ไทย

8.     การเวียนเทียนเป็นพิธีกรรมของศาสนาใด
         ก.    ศาสนาคริสต์
         ข.    พระพุทธศาสนา
         ค.    ศาสนาอิสลาม

9.     พระพุทธเจ้าตรัสรู้หลักธรรมข้อใด
         ก.    อริยสัจ 4
         ข.    มรรค 8
         ค.    พรหมวิหาร 4

10.   ศาสนาในข้อใด เป็นศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก
         ก.   ศาสนาคริสต์
         ข.   ศาสนาอิสลาม
         ค.    ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

แผนการจัดการเรียนรู้ ป.2 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

Œ   มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
          ส 1.1      ป.2/1      บอกความสำคัญของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ
                  ป.2/2      สรุปพุทธประวัติตั้งแต่ประสูติจนถึงการออกผนวช หรือประวัติศาสดาที่ตนนับถือตามที่กำหนด
                        ป.2/4      บอกความหมาย ความสำคัญ และเคารพพระรัตนตรัย ปฏิบัติตามหลักธรรมโอวาท 3
                                        ในพระพุทธศาสนา หรือหลักธรรมของศาสนาที่ตนนับถือตามที่กำหนด
                        ป.2/7      บอกชื่อศาสนา ศาสดา และความสำคัญของคัมภีร์ของศาสนาที่ตนนับถือและศาสนาอื่นๆ

   สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด
             ศาสนาทุกศาสนาล้วนแต่มีความสำคัญ และเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของศาสนิกชน การศึกษาพุทธประวัติ หรือประวัติศาสดาของศาสนาที่ตนเองนับถือ และคัมภีร์สำคัญของศาสนาที่ตนนับถือจะทำให้เข้าใจหลักธรรมคำสอนของศาสนาและเห็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิต ซึ่งควรน้อมนำไปประพฤติปฏิบัติตามเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข

Ž    สาระการเรียนรู้
3.1    สาระการเรียนรู้แกนกลาง
1)       พระพุทธศาสนาเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย
2)       สรุปพุทธประวัติ
3)       ประสูติ
-      เหตุการณ์หลังประสูติ                       -     แรกนาขวัญ
-      การศึกษา                                                 -     การอภิเษกสมรส
-      เทวทูต 4                                                   -     การออกผนวช
                      4)  พระรัตนตรัย
                            -     ศรัทธา
                      5)  โอวาท 3
                            (1)    ไม่ทำชั่ว
                                      -     เบญจศีล
                            (2)    ทำความดี
                                      -     เบญจธรรม                                        -     หิริ-โอตตัปปะ 
                                      -     สังคหวัตถุ 4                                      -     ฆราวาสธรรม 4 
                                      -     กตัญญูกตเวทีต่อครู อาจารย์  และโรงเรียน 
                                      -     มงคล 38
                                            ž      กตัญญู
ž   สงเคราะห์ญาติพี่น้อง
-        ทำจิตให้บริสุทธิ์ (บริหารจิตและเจริญปัญญา)
6)         พุทธศาสนสุภาษิต
                                      -     นิมิตฺตํ สาธุรูปานํ กตญฺญู กตเวทิตา : ความกตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายของคนดี
                                      -     พฺรหฺมาติ มาตาปิตโร : มารดาบิดาเป็นพรหมของบุตร
                      7)  ชื่อศาสนา ศาสดา และคัมภีร์ของศาสนาต่างๆ
                            (1)    พระพุทธศาสนา
                                      -     ศาสดา : พระพุทธเจ้า                     -     คัมภีร์ : พระไตรปิฎก          
                            (2)    ศาสนาอิสลาม
                                      -     ศาสดา : มุฮัมมัด                            -     คัมภีร์ : อัลกุรอาน
                            (3)    คริสต์ศาสนา
                                      -     ศาสดา : พระเยซู                             -     คัมภีร์ : ไบเบิล
                            (4)    ศาสนาฮินดู
                                      -     ศาสดา : ไม่มีศาสดา                     -     คัมภีร์ : พระเวท พราหมณะ อุปนิษัท อารัณยกะ
             3.2    สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น
                      -

   สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
             4.1    ความสามารถในการสื่อสาร
             4.2    ความสามารถในการคิด
                      -     ทักษะการคิดวิเคราะห์
                      -     ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
             4.3    ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
                      -     กระบวนการปฏิบัติ
                      -     กระบวนการสร้างความตระหนัก

    คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1.มีวินัย
2.รักความเป็นไทย
3.มีจิตสาธารณะ

   ชิ้นงาน/ภาระงาน (รวบยอด)
1.บันทึกความรู้เรื่อง ศาสนาที่ฉันนับถือ  (ชิ้นงานที่ 1.1)
2.สมุดบันทึกการปฏิบัติตนตามหลักธรรมของศาสนาที่ฉันนับถือ (ชิ้นงานที่ 1.2)

   การวัดและการประเมินผล
7.1     การประเมินก่อนเรียน
   แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
7.2     การประเมินระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1)      ใบงานที่ 1.1 เรื่อง องค์ประกอบของศาสนา
2)      ใบงานที่ 2.1 เรื่อง หัวใจของพระพุทธศาสนา
3)      ประเมินการนำเสนอผลงาน
4)      สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม 
7.3     การประเมินหลังเรียน
-    แบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่  1
             7.4    การประเมินชิ้นงาน/ภาระงาน (รวบยอด)
1)      ประเมินบันทึกความรู้เรื่อง ศาสนาที่ฉันนับถือ 
2)      ประเมินสมุดบันทึกการปฏิบัติตนตามหลักธรรมของศาสนาที่ฉันนับถือ




              การประเมินชิ้นงาน/ภาระงาน (รวบยอด)    ชิ้นงานที่ 1.1
แบบประเมินบันทึกความรู้ เรื่อง ศาสนาที่ฉันนับถือ

รายการประเมิน
คำอธิบายระดับคุณภาพ / ระดับคะแนน
ดี (3)
พอใช้ (2)
ปรับปรุง (1)
1. การบอก
    ความสำคัญ
    ของศาสนาที่ตน
    นับถือ
บอกความสำคัญของศาสนาที่ตนนับถือได้ถูกต้อง ครบถ้วน ทุกประเด็น
บอกความสำคัญของศาสนาที่ตนนับถือได้ถูกต้อง ครบถ้วน เป็นส่วนใหญ่
บอกความสำคัญของศาสนาที่ตนนับถือได้ถูกต้อง
เป็นบางส่วน
2.  การอธิบาย
     ประวัติศาสดา
     ของศาสนาที่ตน
     นับถือ
อธิบายประวัติศาสดาของศาสนาที่ตนนับถือได้ถูกต้อง ละเอียด ชัดเจน
อธิบายประวัติศาสดาของศาสนาที่ตนนับถือได้ถูกต้อง ชัดเจน เป็นส่วนใหญ่
อธิบายประวัติศาสดาของศาสนาที่ตนนับถือได้ถูกต้อง เพียงบางส่วน
3. การอธิบาย
    ความสำคัญ
    ของคัมภีร์ของ
    ศาสนาที่ตนนับถือ
อธิบายความสำคัญของคัมภีร์ของศาสนาที่ตนนับถือได้ถูกต้อง ละเอียด ชัดเจน
อธิบายความสำคัญของคัมภีร์ของศาสนาที่ตนนับถือได้ถูกต้อง ชัดเจน เป็นส่วนใหญ่
อธิบายความสำคัญของคัมภีร์ของศาสนาที่ตนนับถือได้ถูกต้อง เพียงบางส่วน


เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ

ช่วงคะแนน
ระดับคุณภาพ
7-9
ดี
4-6
พอใช้
1-3
ปรับปรุง

               การประเมินชิ้นงาน/ภาระงาน (รวบยอด)   ชิ้นงานที่ 1.2
แบบประเมินสมุดบันทึกการปฏิบัติตามหลักธรรมทางศาสนาที่ฉันนับถือ

รายการประเมิน
คำอธิบายระดับคุณภาพ / ระดับคะแนน
ดี (3)
พอใช้ (2)
ปรับปรุง (1)
1. หลักธรรมของศาสนา
    ที่ตนนับถือ
บอกหลักธรรมของศาสนาที่
ตนนับถือได้ถูกต้อง ครบถ้วน
บอกหลักธรรมของศาสนาที่
ตนนับถือได้ถูกต้อง
เป็นส่วนใหญ่
บอกหลักธรรมของศาสนาที่
ตนนับถือได้เพียงเล็กน้อย
2. การปฏิบัติตนตาม
    หลักธรรมของศาสนา
    ที่ตนนับถือ
ปฏิบัติตนตามหลักธรรมของศาสนาที่ตนนับถือ
5 พฤติกรรมขึ้นไป
ปฏิบัติตนตามหลักธรรมของศาสนาที่ตนนับถือ
3-4 พฤติกรรม
ปฏิบัติตนตามหลักธรรมของศาสนาที่ตนนับถือ
1-2 พฤติกรรม
3. การบันทึก

ใช้ภาษาอ่านเข้าใจง่าย เขียนสะกดคำถูกต้องทุกคำ
ใช้ภาษาอ่านเข้าใจง่าย เขียนสะกดคำผิดบ้างเล็กน้อย
ใช้ภาษาสับสน อ่านไม่เข้าใจ เขียนสะกดคำผิด
เป็นส่วนใหญ่



เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ

ช่วงคะแนน
ระดับคุณภาพ
7-9
ดี
4-6
พอใช้
1-3
ปรับปรุง


  กิจกรรมการเรียนรู้
Ÿ นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

กิจกรรมที่ 1
ศาสนาน่ารู้
วิธีสอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ: เทคนิคการต่อเรื่องราว (Jigsaw)
เวลา  5  ชั่วโมง

1.ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับเอกลักษณ์ของไทยว่ามีอะไรบ้าง  โดยให้นักเรียนยกตัวอย่าง เช่น
                   การไหว้ อาหารไทย ประเพณีไทย เป็นต้น โดยครูคอยกระตุ้นให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมในการ
                   ตอบคำถามเพื่อนำเข้าสู่บทเรียน แล้วครูอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า สิ่งที่นักเรียนยกตัวอย่างล้วนแต่
                   เป็นสิ่งที่ดีงามและถือเป็นเอกลักษณ์ของไทย โดยเฉพาะด้านประเพณีไทย ซึ่งส่วนใหญ่มีความ
                   เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา
2.   ครูให้นักเรียนศึกษาความรู้เรื่อง พระพุทธศาสนาก่อให้เกิดเอกลักษณ์ของชาติไทย จากหนังสือ                   เรียนหรือหนังสือค้นคว้าเพิ่มเติมตามความเหมาะสม แล้วสรุปสาระสำคัญจดลงในสมุด
             3.   ครูถามนักเรียนว่า เพราะเหตุใดพระพุทธศาสนาจึงเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย โดยครูคอยกระตุ้น
                   ให้นักเรียนช่วยกันแสดงความคิดเห็น แล้วครูอธิบายความรู้เพิ่มเติม และเน้นประเด็นที่พระพุทธศาสนา
                   ก่อให้เกิดกิจกรรมหรือวิถีการดำรงชีวิตในสังคม จึงกล่าวได้ว่า พระพุทธศาสนาเป็นเอกลักษณ์ของ
                   ชาติไทย
4.ครูถามนักเรียนว่า นอกจากพระพุทธศาสนาแล้ว ในประเทศไทยยังมีศาสนาใดบ้าง โดยครูคอย
                   กระตุ้นให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมในการตอบคำถาม แล้วครูสุ่มเรียกนักเรียน 2-3 คน ออกมาเล่า
                   ให้เพื่อนฟังที่หน้าชั้นเรียนว่า นักเรียนนับถือศาสนาใด และเคยเข้าร่วมพิธีกรรมทางศาสนาใดบ้าง
                   (ครูอาจเลือกนักเรียนที่นับถือศาสนาต่างกันออกมาเล่า  เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ที่หลากหลาย  และ
                   ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน)
5.ครูอธิบายให้นักเรียนทราบว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่ประชาชนมีอิสระในการเลือกนับถือศาสนา 
                   ดังนั้นประเทศไทยจึงมีผู้นับถือศาสนาต่างๆ อยู่หลายศาสนา เช่น พระพุทธศาสนา ศาสนาคริสต์ 
                   ศาสนาอิสลาม ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ศาสนาสิข เป็นต้น
6.ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน คละกันตามความสามารถ ให้สมาชิกแต่ละคนมีหมายเลข
      ประจำตัว 1-4 ตามลำดับ เรียกกลุ่มนี้ว่า กลุ่มบ้าน แล้วให้นักเรียนที่มีหมายเลขเดียวกันมารวมกัน
      เป็นกลุ่มใหม่ เรียกกลุ่มนี้ว่า กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ
7.ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาความรู้ในเรื่องที่กำหนดให้ ดังนี้
                   -       กลุ่มที่ 1        ศึกษาความรู้เรื่อง    พระพุทธศาสนา
                   -     กลุ่มที่ 2        ศึกษาความรู้เรื่อง    ศาสนาอิสลาม
                   -     กลุ่มที่ 3       ศึกษาความรู้เรื่อง    ศาสนาคริสต์
                   -     กลุ่มที่ 4        ศึกษาความรู้เรื่อง    ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
                   โดยให้นักเรียนศึกษาความรู้จากหนังสือเรียน หรือหนังสือค้นคว้าเพิ่มเติมตามความเหมาะสม
                   แล้วสรุปสาระสำคัญจดลงในสมุด
8.นักเรียนกลุ่มผู้เชี่ยวชาญกลับเข้าสู่กลุ่มบ้าน แล้วนำความรู้ที่ได้จากการศึกษามาเล่าให้เพื่อนในกลุ่ม
ฟังแล้วสรุปสาระสำคัญจดลงในสมุด จากนั้นครูสุ่มเรียกนักเรียนบางกลุ่มออกมานำเสนอผลการศึกษาที่หน้าชั้นเรียน แล้วให้กลุ่มอื่นได้นำเสนอเพิ่มเติมในส่วนที่แตกต่างกันออกไป
             9.   ครูให้นักเรียนร่วมกันสรุปประเด็นความรู้เรื่อง ศาสนาต่างๆ ตามที่ครูกำหนด แล้วครูอธิบายเพิ่มเติม
                   เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจมากยิ่งขึ้น และเน้นย้ำให้นักเรียนเกิดความตระหนัก และเห็น
                   ความสำคัญของศาสนา
             10. ครูให้นักเรียนทำใบงานที่ 1.1 เรื่อง องค์ประกอบของศาสนา เมื่อทำใบงานเสร็จแล้วให้นักเรียน
                   ตรวจสอบความเรียบร้อย จากนั้นแลกเปลี่ยนกันตรวจคำตอบตามที่ครูเฉลย
11.  ครูให้นักเรียนทำสมุดบันทึกความรู้เรื่อง ศาสนาที่ฉันนับถือ โดยให้ครอบคลุมประเด็นที่กำหนดให้
      ดังนี้
1)       ความสำคัญของศาสนาที่ตนนับถือ
2)       ประวัติศาสดา  และความสำคัญของคัมภีร์ของศาสนาที่ตนนับถือ
12.  นักเรียนแต่ละคนออกมานำเสนอผลงานที่หน้าชั้นเรียน โดยครูและเพื่อนนักเรียนร่วมกันแสดงความ
      คิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะ
13.  ครูและนักเรียนช่วยกันคัดเลือกผลงานที่ดีที่สุด 3 อันดับ เพื่อนำมาจัดป้ายนิเทศแสดงผลงานของ
      นักเรียน

กิจกรรมที่ 2
หลักธรรมนำความสุข
วิธีสอนแบบบรรยาย วิธีสอนโดยเน้นกระบวนการ : กระบวนการคิดวิเคราะห์
เวลา  5  ชั่วโมง

1.         ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับหลักธรรมคำสอนของศาสนาที่นักเรียนนับถือ แล้วให้นักเรียน
                   ยกตัวอย่างการปฏิบัติตนตามหลักธรรมของศาสนาที่ตนนับถือ
2.         ครูยกตัวอย่างหลักคำสอนที่เป็นหัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนา คือ โอวาท 3 ได้แก่ การไม่ทำ
      ความชั่ว การทำความดี การทำจิตใจให้บริสุทธิ์
3.         ครูให้นักเรียนศึกษาความรู้เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา จากหนังสือเรียน หรือหนังสือ
      ค้นคว้าเพิ่มเติม ตามความเหมาะสม ในประเด็นที่กำหนด ดังนี้
      -   โอวาทที่ 1
      -     โอวาทที่ 2
      -     โอวาทที่ 3
                   จากนั้นให้นักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ และบอกแนวทางการปฏิบัติตนที่ถูกต้องและเหมาะสมตาม
                   หลักธรรมที่ได้ศึกษา

4.   ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 6 คน คละกันตามความสามารถ ให้แต่ละกลุ่มช่วยกันคิดคำถาม
      เกี่ยวกับหลักธรรมโอวาท 3 กลุ่มละ 10 ข้อ แล้วเขียนคำถามลงในบัตรคำถามด้านหน้า และเขียน
      เฉลยไว้ที่ด้านหลังของบัตรคำ จากนั้นให้แต่ละกลุ่มนำคำถามที่คิดไว้มาถามเพื่อนที่หน้าชั้นเรียน
      กลุ่มที่ตอบได้ถูกต้องจะได้ 1 คะแนน กลุ่มที่ตอบได้ถูกต้องมากที่สุด ถือเป็นผู้ชนะ
5.   ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เรื่อง หลักธรรมโอวาท 3  แล้วให้นักเรียนทำใบงานที่ 2.1 เรื่อง
      หัวใจของพระพุทธศาสนา เสร็จแล้วนำส่งครูผู้สอน
6.   ครูยกตัวอย่างพุทธศาสนสุภาษิตที่ยึดเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตให้นักเรียนฟัง แล้วให้นักเรียน
      ยกตัวอย่างพุทธศาสนสุภาษิตที่นักเรียนรู้จัก และอธิบายข้อคิดที่ได้รับจากพุทธศาสนสุภาษิตนั้น
7.         ครูอธิบายให้นักเรียนทราบว่า พุทธศาสนสุภาษิต เป็นหลักธรรมที่เรียบเรียงเป็นถ้อยคำหรือข้อความ
                   สั้นๆ เพื่อใช้เป็นคติสอนใจ และช่วยพัฒนาจิตใจให้ดียิ่งขึ้น แล้วครูให้นักเรียนศึกษาความรู้เรื่อง
                   พุทธศาสนสุภาษิต จากหนังสือเรียน หรือหนังสือค้นคว้าเพิ่มเติมตามความเหมาะสม แล้วสรุปสาระ
                 สำคัญจดลงในสมุด
             8.   ครูอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจว่า การมีศรัทธาในพระรัตนตรัย ถือเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติของ
                   พุทธศาสนิกชนที่ดี แล้วครูถามนักเรียนว่า เราควรแสดงความศรัทธาต่อพระรัตนตรัยอย่างไร โดยครู
                   คอยกระตุ้นให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมในการตอบคำถาม จากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันสรุป
                   ความรู้เรื่อง พระรัตนตรัย
             9.   ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาความรู้เรื่อง หลักธรรมของศาสนาอื่นๆ จากหนังสือเรียน หรือหนังสือ
      ค้นคว้าเพิ่มเติม หรือแหล่งข้อมูลสารสนเทศ ตามความเหมาะสม เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ
      ในหลักธรรมของศาสนาอื่นๆ ดังนี้
      -     หลักธรรมของศาสนาอิสลาม
      -     หลักธรรมของศาสนาคริสต์
10. ครูสุ่มเรียกนักเรียน 2-3 กลุ่ม ออกมานำเสนอผลการศึกษาที่หน้าชั้นเรียน แล้วให้นักเรียนกลุ่มอื่นนำ
      เสนอเพิ่มเติมในประเด็นที่แตกต่างกันออกไป จากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เรื่อง
      หลักธรรมของศาสนาอิสลาม และศาสนาคริสต์
11. ครูให้นักเรียนทำสมุดบันทึกการปฏิบัติตามหลักธรรมทางศาสนาที่ฉันนับถือ
12. นักเรียนแต่ละคนออกมานำเสนอผลงานที่หน้าชั้นเรียน โดยครูและเพื่อนนักเรียนร่วมกันแสดง
      ความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะ จากนั้นครูและนักเรียนช่วยกันคัดเลือกผลงานที่ดีที่สุด 3 อันดับ
      เพื่อนำมาจัดป้ายนิเทศแสดงผลงานของนักเรียน
Ÿ   นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 1


   สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
             9.1    สื่อการเรียนรู้
                      1)      หนังสือเรียน สังคมศึกษาฯ ป.2
                      2)      ใบงานที่ 1.1 เรื่อง องค์ประกอบของศาสนา
                      3)      ใบงานที่ 2.1 เรื่อง หัวใจของพระพุทธศาสนา
             9.2    แหล่งการเรียนรู้
                      1)      ห้องสมุด
                      2)      ศาสนสถานต่างๆ  เช่น  มัสยิด  โบสถ์  วัด
3)     ผู้สืบทอดศาสนาต่างๆ  เช่น  พระ  บาทหลวง  โต๊ะอิหม่าม